การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT
การวิจัยและพัฒนามีรายละเอียดดังนี้
๑) วัตถุประสงค์ในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนด ดังนี้
๑.๑) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT
๑.๒) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๑.๓) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT
๒) ขอบข่ายในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนด ดังนี้
๒.๑) ขอบข่ายด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนชากังราววิทยา (อินทร์-ชุ่ม ดีสารอุปถัมภ์) สังกัดเทศบาลเมืองกำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ปีการศึกษา ๒๕๕๘ – ๒๕๕๙ และมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๙ คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จำนวน ๑๕ คน รวมเป็น ๓๔ คน โดยวิธีการเลือกแบบสุ่ม
๒.๒) ขอบเขตด้านเนื้อหา เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
๒.๓) ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา (๑) ตัวแปรอิสระ ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้ (๒) ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และความพึงพอใจ
๒.๔) ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ช่วงที่ ๑ การสร้างและหาคุณภาพ ปีการศึกษา ๒๕๕๘ เป็นการศึกษาและออกแบบ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน และออกแบบและพัฒนา ช่วงที่ ๒ ช่วยของการพัฒนาและนำไปใช้ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ เป็นการนำการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไปใช้และการประเมิน
๓) สมมติฐานในการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนด ดังนี้
๓.๑) การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากขึ้นไป
๓.๒) รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๗๕/๗๕ และประสิทธิผลตามเกณฑ์ร้อยละ ๕๐
๓.๓) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ดังนี้
๓.๓.๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๓.๓.๒) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
๓.๓.๓) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT โดยภาพรวมแล้วอยู่ในระดับมากขึ้นไป
สำหรับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มี ๔ ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน (Analysis)
ขั้นตอนที่ ๒ ออกแบบและพัฒนา (Design & Development)
ขั้นตอนที่ ๓ การนำไปใช้ (Implement)
ขั้นตอนที่ ๔ การประเมิน (Evaluation)
๔) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น ดังนี้
๔.๑) แบบวิเคราะห์เอกสารสำหรับการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
๔.๒) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างสำหรับสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและครูที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
๔.๓) แบบสอบถามความคิดเห็นสำหรับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT
๔.๔) คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ประกอบด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๓ หน่วยการเรียนรู้ และแผนการจัด การเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT จำนวน ๑๔ แผน
กำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT โรงเรียนชากังราววิทยา (อินทร์-ชุ่ม ดีสารอุปถัมภ์)
ลำดับแผน
|
เรื่อง
|
เวลาเรียน / ชั่วโมง
|
๑
๒
๓
๔
๕
๖
๗
๘
๙
๑๐
๑๑
๑๒
๑๓
๑๔
|
ปฐมนิเทศและการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน
การให้เหตุผลแบบอุปนัย
การให้เหตุผลแบบอุปนัย (ต่อ)
การให้เหตุผลแบบอุปนัย (ต่อ)
การให้เหตุผลแบบอุปนัย (ต่อ)
การให้เหตุผลแบบนิรนัย
การให้เหตุผลแบบนิรนัย (ต่อ)
การให้เหตุผลแบบนิรนัย (ต่อ)
การให้เหตุผลแบบนิรนัย (ต่อ)
การอ้างเหตุผลด้วยแผนภาพ
การอ้างเหตุผลด้วยแผนภาพ (ต่อ)
การอ้างเหตุผลด้วยแผนภาพ (ต่อ)
การอ้างเหตุผลด้วยแผนภาพ (ต่อ)
การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน
|
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
๑
|
สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ผู้วิจัยได้ออกแบบรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ๖ ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ ๑ ขั้นจัดกลุ่ม (เทคนิค TGT)
ขั้นที่ ๒ ขั้นเชื่อมโยงปัญหาและระบุปัญหา
ขั้นที่ ๓ ขั้นกำหนดแนวทางแก้ไข
ขั้นที่ ๔ ขั้นศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ ๕ ขั้นการสะท้อนผลการเรียนรู้
ขั้นที่ ๖ ขั้นสรุปและประเมินผลการเรียนรู้
๔.๕) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๔๐ ข้อ
๔.๖) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จำนวน ๑๐ ข้อ
๔.๗) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัด การเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT
๕) สรุปผลการวิจัย ดังนี้
๕.๑) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT โดยภาพรวมแล้วมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
๕.๒) การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT มีค่าประสิทธิภาพ (E๑/E๒) สูงกว่าเกณฑ์ ๗๕/๗๕ และค่าประสิทธิผล (E.I.) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ ๕๐
๕.๓) ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ดังนี้
๕.๓.๑) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๕.๓.๒) ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๕.๓.๓) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT โดยภาพรวมแล้วอยู่ในระดับมากที่สุด
ดังนั้นสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ช่วยในการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาให้กับนักเรียน โดยนักเรียนมีการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น ครูและโรงเรียน จึงมีรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
๖) ข้อเสนอแนะในการวิจัย ดังนี้
๖.๑) ข้อเสนอแนะทั่วไป
- จากการศึกษาที่พบว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น ดังนั้น สถานศึกษาตลอดจนหมวดกลุ่มงานวิชาคณิตศาสตร์ ควรสนับสนุนการพัฒนารูปแบบการจัด การเรียนการสอนต่อไป
- ควรมีกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้ฝึกกระบวนการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
- ควรเน้นให้นักเรียนได้ฝึกทักษะทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ควบคู่กัน
- การเตรียมสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนต้องตรวจสอบก่อนนำสื่อนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้ให้ตรงกับเนื้อหาอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปสอนจริง
- การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเนื้อหาของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ครูผู้สอนควรหารูปแบบและวิธีการให้นักเรียนเกิดความพึงพอใจที่ดีต่อรายวิชา หรือสื่อที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อสร้างความสนใจให้กับนักเรียน
๖.๒) ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยต่อไป
- ควรศึกษาและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนระดับชั้นอื่นๆ ด้วย โดยให้มีเนื้อหาสาระที่หลากหลายตรงกับความสนใจและความต้องการของนักเรียน
- ควรศึกษาและพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ และการคิดแก้ไขปัญหา ตลอดจนทักษะทางคณิตศาสตร์ เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนในเรื่องอื่น ๆ ต่อไป
- ควรพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ควบคู่ไปกับการจัดการเรียน การสอน เพื่อเป็นการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และทักษะทางคณิตศาสตร์
- ควรวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอื่นๆ มาบูรณาการและปรับใช้ด้วยกันต่อไป เช่น การจัดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน แบบใช้โครงงานเป็นฐาน แบบสือเสาะ และเน้นกระบวนการคิด เป็นต้น
- ควรมีการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอน จากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัด การศึกษา เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๘ ประการ ตลอดจนค่านิยมของคนไทย ๑๒ ประการ
******************************************