ทุกปีการศึกษาจะมีการแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนมากมายหลายอย่างทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ การแข่งขันหลายๆกิจกรรมเช่นกลุ่มสาระการเรียนรุ้ภาษาไทยมีการแข่งขันการคัดลายมือ การอ่านออกเสียง การเขียนเรียงความจากภาพ การเขียนเรียงความจากหัวข้อที่กำหนดให้ การเขียนเรียงความจากหัวข้อที่กำหนดให้พร้อมวาดภาพระบายสี การแข่งขันทำหนังสือเล่มเล้กเป็นทีม การแข่งขันการแต่งกลอนต่างๆ ตลอดจนการแข่งขันการท่องบทอาขยานเดี่ยวและเป็นทีม ที่จะกล่าวถึงคือ การแข่งขันการเขียนเรียงความและการท่องบทอาขยาน
๑.การเขียนเรียงความจากหัวข้อที่กำหนดให้
๑.๑ เตรียมนักเรียนครูควรเลือกนักเรียนในช่วงชั้นที่กำหนด คนที่อ่านออกเขียนได้ เก่งภาษาไทย หญิงหรือชายก็ได้มาฝึกซ้อมนอกเวลาอาจเป็นหลังเลิกเรียนหรือวันเสาร์วันอาทิตย์หรือปิดเทอม
๑.๒ เตรียมพร้อมด้านเวลา ครูควรเสียสละเวลาทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อม ทั้งเวลาและแรงกายแรงใจ
๑.๓ เตรียมหัวข้อที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์ในช่วงเวลานั้น เช่น เศรษฐกิฐพอเพียง ภาวะโลกร้อน อุทกภัยในประเทศไทยมาฝึกบ่อยๆ โดยครูให้เขียนอย่างน้อยวันละเรื่องตั้งเวลาเขียนประมาณ๑ชั่วโมง ครูตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์การแข่งขันที่ทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มา มีรูปแบบการเขียนคำ การใช้ภาษา ชื่อเรื่อง ให้คะแนนไปตามที่เขียนทุกวัน บอกให้ทราบว่าถูกผิดตรงไหน อย่างไร ควรพัฒนาตัวหนังสือให้สวยให้อ่านง่าย มีคำนำ เนื้อเรื่อง สรุป จำกัดบรรทัดด้วยว่ากี่บรรทัดขึ้นไป
ทุกครั้งที่เขียนต้องมีชื่อเรื่อง ฝึกวันต่อไปตั้งชื่อเรื่องใหม่ทั้งใกล้และไกลตัวด้วยเช่น ถ้าข้าพเจ้าเป็นนายกรัฐมนตรีข้าพเจ้าจะบริหารประเทศอย่างไร โลกในอนาคตของข้าพเจ้า เมืองไทยในอนาคต ภัยของยาเสพติด อาหารที่ข้าพเจ้าชอบ ครอบครัวของข้าพเจ้า โรงเรียนของฉัน สัตว์เลียงของฉัน ในหลวงของเรา ทุกครั้งที่เขียนควรบอกจุดเด่นจุดด้อย
๑.๔ เตรียมอุปกรณ์ เช่่น ดินสอ ยางลบ กระดาษลายเส้น กระดาษวาดภาพ กระดาษปอนด์ สีเทียน สีไม้
ไม้บรรทัด มีดหรือกบเหลาดินสอ อุปกรณ์เหล่านี้เผื่อไว้แข่งขันการเขียนเรียงความที่กำหนดหัวข้อมาให้ แล้วให้นักเรียนวาดภาพสื่อความหมาย ระบายสี มีการให้คะแนนทั้งภาพการลงสีและเรียงความ ตัวหนังสือสวยงามที่สุด เขียนถูกต้องที่สุด ครูก็ควรเตรียมและฝึกซ้อมนักเรียนให้คะแนนเหมือนกันเช่น เรื่องพระผู้ทรงเป็นครูแห่งดิน
๑.๕ เตรียมรางวัล ถ้าผลการแข่งชนะเลิศหรือรองชนะเลิศอันดับ๑หรือ๒ครูผู้ฝึกควรมีรางวัลเสริมแรงบ้างเล็กน้อย ถึงแม้จะเป็นระดับกลุ่มสถานศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภาคหรือระดับประเทศต่อไป
๒. การแข่งขันการท่องบทอาขยานกำหนดเป็นทีมหรือเดี่ยว
๒.๑ การเตรียมนักเรียน การเตรียมนักเรียนถ้าเป็นทีมแล้วแต่จะจำกัด ๓-๕ คน หรือ ๑ คน เลือกนักเรียนในระดับช่วงชันที่กำหนด เอาคนพูดเสียงดังฟังชัด หญิงหรือชายก็ได้หรือประเภททีมปนกันก็ได้ แต่งกายสะอาด การฝึกซ้อมนอกเวลาหลังเลิกเรียนหรือวันเสาร์วันอาทิตย์หรือวันราชการช่วงปิดเทอม
๒.๒ เตรียมเวลา ครูและนักเรียนควรมีเวลาฝึกสอนฝึกซ้อมอย่างเพียงพอ เสียสละเวลาแรงกายแรงใจ ทุ่มเทให้กับการฝึกซ้อนักเรียนให้เพียงพอ
๒.๓ เตรียมอุปกรณ์ เนื้อหาบทอาขยานครูควรจัดหาหรือถ่ายเอกสารคนละเล่มและแผ่นซีดีหรือม้วนเทปบทอาขยานนั้นควรมีด้วย เครื่องคอมพิวเตอร์ควรเตรียมเปิดแผ่นซีดีให้ฟังเป็นตัวอย่าง
๒.๔ เตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย นักเรียนควรมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงในการเข้าแข่งขัน กินอาหารให้ครบทุกหมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวัละ ๘ แก้ว ดื่มน้ำไม่ร้อนจัดไม่เย็นจัด เพราะเย็นจัดจะทำให้เจ็บคอ ไอ ทำให้ไม่สบาย เสียงไม่ดี เสียงแหบแห้งได้ เวลาประกวดจะต้องไม่ลืมทำความเคารพกรรมการด้วยการไหว้หนึ่งครั้งด้วยกิริยาที่นอบน้อม
๒.๕ เตรียมความพร้อมทางด้านเนื้อหาบทอาขยาน บทอาขยานควรเตรียมพร้อมทั้งบทหลัก บทรอง แต่ละช่วงชั้น เช่น ป.๑ - ๓ ป.๔-๖ ม.๑ - ๓ ควรท่องให้จำได้ทุกบทและยังต้องท่องให้ได้น้ำเสียงและสำเนียงเหมือนกับต้นฉบับจากม้วนเทปบ้าง ตัวอย่างจากซีดีบ้าง ครูคนฝึกควรท่องได้ท่องเป็นตัวอย่างให้แก่นักเรียนอย่างแม่นยำ
๒.๖ เตรียมความรู้ด้านหลักเกณฑ์ เราควรทราบหลักเกณฑ์ในการเข้าแข่งขันเท่ากับเราชนะไปครึ่งหนึ่งแล้ว ทราบคะแนนที่กำหนดในแต่ละหัวข้อ เช่น ประเภททีมก็จะมีการให้คะแนนความพร้อมเพรียง น้ำเสียง เสียงดังฟังชัดเจน มารยาทในการท่อง ออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว ชัดเจนหรือไม่ เอื้อนเสียงถูกต้อง ท่องคำตก ออกเสียงชัดเจนหรือไม่ ถ้าเป็นประเภทเดียวหรือคนเดียวก็จะดูการแต่งกายเหมาะสม น้ำเสียงถูกต้องตามหลักการอ่านทำนองเสนาะ ออกเสียงคำควบกล้ำ ร ล ว ชัดเจนหรือไม่ ดูกิริยามารยาท ดูความมั่นใจในการท่องเพียงไร ครูควรฝึกและให้คะแนนทุกครั้ง บอกความบกพร่องในบทนั้น ๆ ให้นักเรียนแก้ไขครั้งต่อไป
๒.๗ เตรียมเสียงให้ดังในตอนแข่งขัน ครูผู้ฝึกควรบอกนักเรียนไว้ล่วงหน้าถึงเวลาการแข่งขันเราต้องเดินเข้าอย่างสง่างาม ทำความเคารพ รายงานตัว บอกชื่อ ชั้น โรงเรียน ถ้ามีเสียงท่องบทอาขยานของคู่ต่อสู้ดังลอดออกมานอกห้อง เราหรือทีมเราจะต้องเปล่งเสียงดังกว่าที่เขาท่องก่อน ท่องให้มั่นใจ เสียงดัง ฟังชัดถูกต้องตามทำนองเสนาะและอักขรวิธี
๒.๘ เตรียมรางวัลให้กับนักเรียน เมื่อนักเรียนทำได้หรือชนะเลิศระดับหนึ่งในการแข่งขัน ครูควรให้กำลังใจ กล่าวคำชมเชยพร้อมทั้งให้รางวัลเล็กๆ น้อยๆ เพื่อเตรียมแข่งขันในระดับต่อไป
ถ้าเตรียมความพร้อมได้อย่างนี้แล้วความเป็นเลิศทางวิชาการหรือผลสำเร็จของผู้ที่นำไปปฏิบัติอยู่ไม่ไกลนักคงจะอยู่แค่เอื้อม