เขียนโดย suthasinee | 23 เมษายน 2556
**ท่านสามารถคลิกที่รูปภาพเพื่อดูภาพขยาย หรือดาวน์โหลดจดหมายข่าวสำหรับพิมพ์เผยแพร่ตามเอกสารแนบทางด้านล่าง**
nangnang8529@hotmail.com 15:23 น. 30 เม.ย. 56 น.
นักศึกษากศน.มีปัญหาในเรื่องการมาพบกลุ่มกันเยอะเพราะว่ามีงานทำกันแล้วเป็นส่วนใหญ่ แต่ครูก้ให้งานไปทำโดยให้ค้นคว้าจากสื่อต่างๆได้แล้วทำรายงานมาส่ง การค้นคว้างานจึงเป็นการศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองที่ทำให้การพัฒนาตนเองมีอยู่เสมอ การเรียน กศน.จึงจำเป็นอย่างยิ่งกับผู้ที่ขาดโอกาสทางการศึกษา
นิรนาม 23:11 น. 27 มิ.ย. 56 น.
โดนใจ จ้างครูคุณภาพสูง ด้วยเงินเดือนสูง เป็นที่น่าสังเกตว่าการจัดการปัญหา โง่ จน เจ็บ องค์กรการกุศลและ เอกชน หรือชุมชน ทำได้ผล มาก เป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณาว่า เพราะอะไร
supakorn 20:29 น. 30 เม.ย. 56 น.
มหาวิทยาลัยเปิดก็น่าจะเป็นอีกช่องทางหนึ่ง แต่ไม่ว่าช่องทางใดระบบของเราต้องรักษาคุณภาพไว้ให้ได้ มิฉะนั้นแม้จะแจกใบคุณวุฒิกันมากมายแต่คนที่เรียนจบก็มีความรู้ความสามารถต่ำ
nangnang8529@hotmail.com 15:10 น. 30 เม.ย. 56 น.
ฉัฐกาญจน์ กิติธนาสุทธิภูมิ 23:38 น. 26 เม.ย. 56 น.
เห็นด้วยอย่างยิ่ง ในการแก้ปัญหาแบบนี้ เราก็มีทำบ้างแล้วแต่ยังไม่จริงจัง ไม่มีงบฯสนับสนุนที่เพียงพอ ลองทำจริงจังให้ครบวงจรทุกขั้นตอน ประเทศของเราก็จะแก้ปัญหาได้เหมือนกันค่ะ
supakorn 20:38 น. 28 เม.ย. 56 น.
ประเทศเราอุดมสมบูรณ์ คนไทยคุยกันง่าย มีน้ำใจ แต่เรามักทำงานฉายเดี่ยว เรามักติดยึดกับรูปแบบมากกว่าสาระจึงมักอ้างติดนั่นติดนี่กันเสมอ เรามีคนที่ทุ่มเททำงานแต่ก็มักขาดคนแวดล้อมที่เห็นคุณค่าและพร้อมจะเข้ามาร่วมปณิธาน
supakorn 20:08 น. 25 เม.ย. 56 น.
สสค.ได้โทรศัพท์คุยกับสมาชิกจำนวนหลายพันคนเราได้รับคำแนะนำดีๆสำหรับปรับปรุงงานให้ดีขึ้นหลายท่านได้ช่วยนำจดหมายข่าวพิมพ์เผยแพร่หรือบอกต่อๆกัน ทีมงานขอแสดงความขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ. สุภกร
pamornsri@qlf.or.th 11:00 น. 24 เม.ย. 56 น.
อ่านรายละเอียดกระบวนการจัดการของชุมชนฮาเล็ม เพิ่มเติมได้ที่นี่ http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=614
บำเพ็ญ อินทร์โสม 8:28 น. 24 เม.ย. 56 น.
การจัดการศึกษาในชนบทหรือในชุมชนต่างๆ ถ้าจัดได้ในลักษณะนี้ โดยมองที่องค์รวมของปัญหาแล้วร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทั้งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น สถานศึกษาในระดับต่างๆตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาในท้องถิ่น รวมทั้งการอบรมให้ความรู้มารดาในการดูแลเด็กตั้งแต่ในครรภ์มารดา โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพในชุมชน การดูแลเพิ่มพูลผลผลิตให้แต่ละครัวเรือนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเกษตรอำเภอหรือหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะเข้าไปเสริมสร้างองค์ความรู้ชุมชน ที่สำคัญคือการสร้างความรู้ ให้ประชาชนมีองค์ความรู้ที่นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ และสามารถต่อยอดความรู้พัฒนาการขึ้นไปเรื่อยๆ และเผยแพร่ขยายผลสู่ชุมชน เป็นแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice)ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกระดับจะต้องมองเห็นความสำคัญ มีความตระหนักในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้อย่างจริงจัง มิใช่ทำแบบไฟไหม้ฟาง
supakorn 10:21 น. 24 เม.ย. 56 น.
ลองชมคลิปนะครับ
naiaos84@gmail.com 6:22 น. 24 เม.ย. 56 น.
อ่านได้สาระ และทีความสุขทุกครั้งที่อ่านครับ ^^
supakorn 13:08 น. 25 เม.ย. 56 น.
สมาชิกที่อ่านบางคนอยู่ไกลถึงเวียตนาม อเมริกา คานาดา เชียวนะครับ สมาชิกที่อยู่ต่างประเทศน่าจะโพสต์ความเห็นกันบ้าง สุภกร
วรพล คงแก้ว 20:48 น. 25 เม.ย. 56 น.
ผมรู้สึกเป็นห่วงอนาคตของเด็กไทยมากๆ ไม่มั่นใจกับการบริหารการศึกษาในยุคนี้เลย ดูข่าวประเทศในกลุ่มอาเชี่ยน เขากระตือรือร้นในการเข้าสู่สังคมอาเชี่ยน แตประเทศไทยเรายังเงียบ ไม่ได้ทำอะไรที่แสดงให้เห็นถึงความห่วงใยอนาคตของเยาวชนเลย มีแต่สิ่งมอมเมา เช่น ร้านเกม เกมออนไลน์จากเน็ต และแจกแทปเล็ตเด็กป. 1 ซึ่งอยู่ในช่วงฝึกคิด ฝึกเขียน แต่กลับให้อุปกรณ์ที่ไม่ต้องใช้มือเขียน ยังไม่เห็นประโยชน์เลย ไม่ทราบว่าสมาชิกท่านใดมีความคิดตรงกับผมบ้าง
ผู้ดูแลระบบ สสค. 14:12 น. 23 เม.ย. 56 น.
ท่านที่สนใจสามารถชมวิดีทัศน์ Harlem เพิ่มเติมได้ที่ http://goo.gl/Wfr5K (บทบรรยายไทย)และ http://goo.gl/FPkfw (ซับไตเติ้ลไทย)
คลิกเพื่อเปลี่ยนรูปใหม่
กรอกข้อความในรูปภาพที่นี่:
ท่านที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก สสค. โลกแห่งการเรียนรู้ออนไลน์รอคุณอยู่ คลิกที่นี่ เพื่อสมัครสมาชิก สสค.
กรุณารอสักครู่ ระบบกำลังบันทึกความเห็นของท่าน