การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยม-ศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษา และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนชากังราววิทยา (อินทร์-ชุ่ม ดีสารอุปถัมภ์) สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2558 – 2559 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ได้ผ่านการตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบหาค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (KR – 20) และค่าความเที่ยง ( ) ทั้งฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และค่าประสิทธิผล (E.I.) ค่า t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากขึ้นไป
2. รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 87.12/86.14 และค่าประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.8712
3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ดังนี้
3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3 ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT โดยภาพรวมแล้วอยู่ในระดับมากขึ้นไป
ดังนั้นสรุปได้ว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับเทคนิค TGT ช่วยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพทางการศึกษาอีกด้วย
|